วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Ubuntu ระบบปฏิบัติการลินุกซ์






Ubuntu เป็นลินิกซ์หน้าใหม่ที่เพิ่งจะถือกำเนิดมาในปีที่แล้ว แต่ความร้อนแรงของมันเรียกได้ว่าสุดๆ เพราะหลังจากออกเวอร์ชั่นตัวจริงรุ่นแรกมาในเดือนตุลาคม เวลาสี่เดือนจากนั้นนับจนสิ้นปี ก็เพียงพอที่จะทำให้ Ubuntu ได้รางวัลลินิกซ์แห่งปีของเวบไซต์ Ars Technica ไปครอง

แนะนำ  Ubuntu             
           Ubuntu นั้นเป็นลินุกซ์ดิสโทรที่กำลังเป็นที่นิยมที่สุดในขณะนี้ คำว่าลินุกซ์ดิสโทร psinut mistributionq หมายถึง ลินุกซ์สำเร็จรูปที่มีการปรับแต่งเพื่อให้เหมาะแก่การใช้งานแล้วในระดับหนึ่ง ลินุกซ์ดิสโทรที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คงจะหนีไม่พ้นลินุกซ์ตัวดังๆ เช่น nedhat, SUSj, Mandriia เป็นต้น เหล่านี้จัดว่าเป็นลินุกซ์ดิสโทรตัวหนึ่ง ส่วน Ubuntu นั้นจัดเป็นดิสโทรที่พัฒนา โดยอิงจาก mebian GNU/sinut เป็นฐานในการพัฒนา หรือจะเรียกว่าเป็นการต่อยอดก็ดูจะไม่ผิดนัก
           สาเหตุที่ทำให้ Ubuntu เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วนั้นคงเป็นเพราะ Ubuntu คัดโปรแกรมที่ใช้สำหรับงานต่างๆมาให้เป็นอย่างดีแล้ว แทนที่จะเป็นเหมือนดิสโทรอื่นที่ยัดโปรแกรม ประเภทเดียวกันมาหลายตัวเกินความจำเป็น ทำให้ผู้ใช้อาจเกิดความสับสนว่าควรจะใช้โปรแกรม ไหนเพื่อทำงาน นั้นๆดี ทำให้ Ubuntu นั้นมีแผ่นติดตั้งเพียงหนึ่งแผ่นเท่านั้น และยังแยกแผ่น สำหรับใช้งานในรูปแบบเดสก์ทอป กับแบบเซิร์ฟเวอร์ออกจากกันอีกด้วย เพื่อให้ง่ายแก่การดาวน์โหลดและป้องกันความสับสน
          นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น อีกเหตุผลหนึ่งซึ่งทำให้ Ubuntu เป็นที่นิยมคือ บริษัท Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu ได้ให้สัญญากับผู้ใช้ไว้ว่า Ubuntu จะเป็นลินุกซ์ที่เสรีตลอดไป ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าจะสามารถใช้งาน Ubuntu โดยปราศจากค่าใช้จ่ายได้ตลอดไป ซึ่งจะแตกต่างจาก nedhat หรือ Mandriva ในบางเวอร์ชัน่ที่ต้องเสียเงินซื้อมาใช้เสียแล้ว
          ความนิยมของ Ubuntu ไม่ได้หยุดอยู่แค่กับกลุ่มผู้ใช้ชาวต่างชาติเท่านั้น ปัจจุบันความ นิยมและข้อดีต่างๆของ Ubuntu ได้ถูกบรรจุลงใน sinutusj 8 ของไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และด้วยความที่ NjCujC ยังไว้ใจในการนำา Ubuntu มาต่อยอดในการพัฒนาลินุกซ์ของไทย แล้วเหตุไฉนคุณจะไม่ไว้ใจใน Ubuntu 



จุดเด่น
  • ระบบอัพเดท เนื่องจาก Ubuntu เป็นลินุกซ์สายพันธุ์ mebian จึงใช้ระบบ APu pAdianced Pacvage uoolq ในการจัดการแพคเกจ ซึ่งระบบนี้มันข้อดีที่สามารถอัพเดทหรือติดตั้งแพคเกจเพิ่มเติมผ่านอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา แถมยังจัดการปรับแต่งค่าพื้นฐานให้โดยอัตโนมัติอีกด้วย
  •  การติดตั้งแบบกราฟิก Ubuntu มีระบบการติดตัง้แบบ GUI pGraphic User Interlaceq ทำให้ง่ายมากๆใน การที่จะติดตั้งUbuntu   ซึ่งบอกได้เลยว่าง่ายกว่าการติดตัง้ Windows wP เสียอีก
  • ทดลองก่อนติดตั้งจริง คุณสามารถทดลองใช้งาน Ubuntu ก่อนได้ โดยที่ไม่ต้องติดตั้งลงในเครื่อง คอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งคุณสามารถแน่ใจได้เลยว่าข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณจะ ปลอดภัย และเมื่อคุณทดลองจนพอใจและตัดสินใจที่จะใช้ เมื่อนั้นคุณค่อยติดตั้งลงในฮาร์ดดิสก์ก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด
  • หนึ่งแผ่นเท่านั้น Ubuntu คัดสรรโปรแกรมที่ดีที่สุดมาให้คุณแล้ว ทำให้ไฟล์และโปรแกรมทั้งหมด สำหรับติดตั้งน้อยจนสามารถบรรจุลงได้ในหนึ่งแผ่นซีดีเท่านั้น และเพื่อป้องกันความสับสนแก่ผู้ใช้ ที่จะเลือกใช้โปรแกรมดีๆสักตัว เพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง Ubuntu จึงไม่ใส่โปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานประเภทเดียวกันมาให้ซ้ำซ้อนกัน
 
 
Ubuntu PE 9.07
รุ่นพร้อมใช้ เต็มสูบ
ในงานคอมมาร์ตครั้งล่าสุดที่ผ่านมาได้สักระยะแล้ว ใครที่ไปเดินจะเห็นว่าพระเอกของงานที่ขายๆกันก็คือแล็ปท็อป ทั้งโน้ตบุ๊ก และเน็ตบุ๊ก ซึ่งเน้นกลุ่มตลาดที่ราคาไม่สูงนัก หลายบริษัทนำเอาระบบปฏิบัติการลินุกซ์สายพันธุ์อบุนตูลงใส่เครื่องโชว์ให้ลูกค้าดู



 
PE 9.07 ล่าสุดที่ผ่านการทดสอบมาแล้วระดับหนึ่งตอนนี้เปิดให้ดาวน์โหลดแล้วด้วยขนาด ไฟล์ 1.5 GBที่ ubuntuclub.com ซึ่งต้องอาศัยแผ่นดีวีดี หรือ ยูเอสบี ธัมบ์ ไดรฟ์ ในการติดตั้งแทนแผ่นซีดีธรรมดา
ข้อดีนอกจากพร้อมใช้จนแบบไม่ต้องหาอะไรมาเพิ่มอีกแล้ว เพราะใส่มาจนล้น ยังสามารถใช้ได้อย่างสบายใจไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่เสียเงินอีกด้วย และสำหรับคนที่ไม่ต้องการจะดาวน์โหลดเองด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ สามารถสั่งซื้อที่เขาทำใส่ยูเอสบี ธัมบ์ ไดรฟ์ ไว้ให้เรียบร้อยแล้วในราคาไม่แสวงกำไร






 

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โครงการฝายชะลอน้ำ



โครงการฝายชะลอน้ำ
ฝายชะลอน้ำ (Check Dam) โดยใช้แนวพระราชดำริทฤษฎีการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้






            ฝาย แม้ว เป็นชื่อเรียก โครงการตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ วิศวกรรม แบบพื้นบ้าน ฝายแม้วเป็นฝายชะลอน้ำกึ่งถาวรประเภทหนึ่ง ประเภทเดียวกับฝายคอกหมู โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นกิ่งไม้ ก้อนหิน เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็กๆ ให้ไหลช้าลง และขังอยู่ในพื้นที่นานพอที่จะพื้นที่รอบๆจะได้ดูดซึมไปใช้ เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความชุ่มชื้นมากพอที่จะพัฒนาการ เป็นป่าสมบูรณ์ขึ้นได้ ฝายแม้วยังอาจใช้เพื่อการทดน้ำ ให้มีระดับสูงพอที่จะดึงน้ำไปใช้ในคลองส่งน้ำได้ในฤดูแล้ง โครงการตามแนวพระราชดำรินี้ได้มีการทดลองใช้ที่ โครงการห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ และประสบผลสำเร็จจนเป็นตัวอย่างให้กับโครงการอื่นๆต่อมา

          ฝายชะลอน้ำสร้างขวางทางไหลของน้ำบนลำธารขนาดเล็กไว้ เพื่อชะลอการไหล- ลดความรุนแรงของกระแสน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของตลิ่ง - เมื่อน้ำไหลช้าลง ก็มีน้ำอยู่ในลำห้วยนานขึ้น โดยเฉพาะในหน้าแล้ง - ช่วยดักตะกอนที่ไหลมากับน้ำ ลดการตื้นเขินที่ปลายน้ำ ทำให้น้ำใสมีคุณภาพดีขึ้น - ช่วยให้ดินชุ่มชื้น ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ - สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต คืนพืชแก่เนินเขา/ภูเขาหัวโล้น - ดินชื้น ป่าก็ชื้น กลายเป็นแนวกันไฟป่า ลดความรุนแรงของไฟได้

           เพื่อ รักษาความชุ่มชืนของผืนป่าและกักเก็บน้ำ ทางโครงการฯ ได้จัดทำฝายชะลอน้ำ ในต้นน้ำลำธาร ๒ สาย และเพื่อสร้างความเข้าใจให้ถูกต้อง สำหรับ โครงการ ฝายชะลอน้ำ ที่ทางเราได้จัดทำ ขึ้นมานั้น มีวัตถุประสงค์ และ วิธีการก่อสร้าง เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ในระยะยาว ดังนี้
         ๑. ฝายที่เราสร้างขึ้นมา เป็นฝายแบบไม่ถาวร ให้วัสดุจากธรรมชาติ เป็นหลัก สำหรับชะลอน้ำ ในหน้าแล้งเท่านั้น ไม่ได้สร้างเพื่อกักเก็บน้ำ การไหลของน้ำ ที่หน้าฝาย ยังมีน้ำไหลอยู่ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะซึมผ่านฝาย หรือ น้ำล้นข้ามฝาย
         ๒. ระดับความสูงของตัวฝาย ไม่สูงมากนัก ระดับความสูงประมาณ ๔๐ % ของความสูงของระดับน้ำสูงสุด ในลำคลองหรือลำห้วย สายน้ำยังสามารถไหลล้นผ่านฝายได้ ตลอดเวลา เพื่อยังรักษาระบบนิเวศน์ หน้าฝายไว้
         ๓ ตัวฝายควรมีระดับความลาดชัน ประมาณ ๒๐ - ๔๕ องศา ทั้งด้านหน้า และ ด้านหลัง ไม่ควรสร้างฝาย ที่มีหน้าตัด ๙๐ องศา
         ๔. การก่อสร้างจะสร้างเป็นช่วงๆ แบบ ขั้นบันได เป็นช่วงๆ ระยะขึ้นอยุ่กับพื้นที่ ประมาณ ๕๐ - ๒๐๐ เมตร ๔ งบประมาณการก่อสร้างเราแทบจะไม่มี เพียงช่วยกันขนหิน ที่ระเกะ ระกะ อยุ่ตามลำคลอง มาจัดเรียงใหม่ เท่านั้น เป็นการออกกำลังกายไปในตัว หากไม่มีหิน เราก็จะใช้กระสอบทราย
         ๕. หากหน้าน้ำ มีน้ำมา ฝายนี้ก็จะพังทลาย ลง (ช่วยลดความเร็วของกระแสน้ำป่า ลงได้) หินที่ก่อเรียงตัวไว้ ก็จะพัง และ ไหลลงมาสู่ตัวฝาย ด้านล่าง ต่อไป
         ๖. พอหมดหน้าน้ำป่า น้ำเกือบจะใกล้แห้ง เราก็หาเวลามาออกกำลังกาย มายกก้อนหินกลับไปเรียง เป็นฝายชะลอน้ำ ตามเดิม (ส่วนใหญ่แล้ว จะยังหลงเหลือ โครงสร้างเดิมอยู่บ้าง) ใช้เวลาก่อสร้าง ประมาณ ๑-๒ ชม. ต่อฝายเท่านั้น
         ๗. ควรคำนึงถึง สัตว์น้ำ ที่อาศัยในลำคลองด้วยว่า สามารถเดินทางไปยังต้นน้ำได้หรือไม่ เพราะเราตั้งใจว่า “ในน้ำต้องมีปลา ในป่าต้องมีน้ำ 






ที่มา : http://itoutlearning.blogspot.com/2011/02/blog-pos

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลส่วนตัว

นางสาวชลธิชา  คุ้มฤทธิ์
รหัส 115430503716-4
คณะบริหารธุรกิจ
สาขา การจัดการอุตสาหกรรม 2
Facebook : KChK Lopburi